หน่วยที่ 5


การดูแลรักษาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ
การดูแลรักษาและทำความสะอาดอุปกรณ์
                                คอมพิวเตอร์ก็เหมือนกับเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยทั่ว ๆ ไป ถ้าคุณใช้อย่างเดียวไม่ดูแลรักษา อายุของการใช้ก็จะสั้นลง ส่วนคอมพิวเตอร์ก็จะทำให้เครื่องช้า ไม่เร็วเหมือนตอนซื้อมาใหม่ ๆ หรือเต็มไปด้วยขยะทั้งฮาร์ดดิสก์ ห้องทำงานด้านคอมพิวเตอร์ควรเป็นห้องปรับอากาศที่ปราศจากฝุ่นและความชื้น ซอฟแวร์แผ่นดิสก์ที่เก็บซอฟแวร์และไฟล์ข้อมูล หรือสารสนเทศนั้นอาจเสียหาย ได้ ถ้าหากว่าแผ่นดิสค์ได้รับการขีดข่วนได้รับความร้อนสูงหรือตกกระทบกระแทก แรงๆ สิ่งที่ทำลายซอฟแวร์ได้แก่ ความร้อน ความชื้น ฝุ่น ควัน และการฉีดสเปรย์พวกน้ำยาหรือน้ำหอม ต่าง ๆ เป็นต้น
การทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์
1. ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ใน ขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่ ถ้าคุณจะทำความ สะอาดเครื่อง ควรปิดเครื่องทิ้งไว้ 5 นาที ก่อนลงมือทำความสะอาด
2. อย่าใช้ผ้าเปียก ผ้าชุ่มน้ำ เช็ดคอมพิวเตอร์อย่างเด็ดขาด ใช้ผ้าแห้งดีกว่า
3. อย่าใช้สบู่ น้ำยาทำความสะอาดใด ๆ กับคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้ระบบเกิดความเสียหาย
4. ไม่ควรฉีดสเปรย์ใด ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
5.ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ
6.ถ้าคุณจำเป็นต้องทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรดใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด ที่คู่มือแนะนำไว้เท่านั้น
7.ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์
8.ไม่ควรกินของคบเคี้ยวหรืออาหารใด ๆ ขณะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
การดูแลรักษาซีพียู (CPU)
                                การดูแลรักษาซีพียู จึงต้องทำให้พัดลมระบายอากาศ และชุดจ่ายไฟฟ้ามีการทำงานที่ปกติอยู่เสมอ การตรวจเช็คอุปกรณ์ดังกล่าวทำได้ง่าย ๆ โดยการสังเกตว่า มีการทำงานปกติหรือไม่ ? มีเสียงผิดปกติขณะทำงานหรือไม่ ? โดยอุปกรณ์ทั้งสองสามารถเสื่อมลงได้ตามระยะเวลาใช้งาน โดยทั่วไปหากซีพียูต้องทำงานในอุณหภูมิที่ร้อนมาก ซีพียูจะหยุดทำงานเพื่อป้องกันความเสียหาย อาจทำให้เกิดอาการเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ไปซักครู่ แล้วดับไปเองบ่อย ๆ (สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือซีพียูร้อนจนเกินไป)


การดูแลรักษาเมนบอร์ด (Mainboard)
                                เมนบอร์ด (Mainboard)เป็นส่วนประกอบที่เห็นได้ง่ายมาก เมื่อเปิดฝาเคสเครื่องคอมพิวเตอร์ออก เพราะจะเป็นชิ้นส่วนที่วางอยู่เป็นพื้นให้อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนอื่นเป็น อุปกรณ์ที่มี Chip ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อื่นๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเป็นทั้งตัวรับและจ่ายไฟให้กับ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ บนเมนบอร์ด ซึ่งถ้ามีอุปกรณ์สำรองไฟฟ้า (UPS) ก็จะช่วยให้การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นไปอย่างราบรื่นสม่ำเสมอ และไม่ทำให้อุปกรณ์อื่นๆ ชำรุดเสียหาย ในกรณีที่เกิดไฟตกไฟกระชากอีกด้วย
การดูแลรักษาจอภาพ (Monitor)
                                จอภาพ (Monitor) จอภาพโดยทั่วไปมักจะมีอายุการใช้งานประมาณส่วนใหญ่ ประมาณ 1-3 ปี เนื่องจากหลอดภาพของแต่ละรุ่นยี่ห้อนั้น จะมีคุณภาพแตกต่างกันไปตาม แต่ละบริษัทผู้ผลิต ไม่ควรตั้งจอไว้ใกล้บริเวณที่มีสนามแม่เหล็กมากจนเกินไป และไม่ควรเช็ดหน้าจอด้วยน้ำยาหรือสารอย่างอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้สำหรับทำความสะอาดจอภาพนั้น ๆ
การดูแลรักษาควรปฏิบัติดังนี้
1. อย่าให้วัตถุหรือน้ำไปกระทบหน้าจอคอมพิวเตอร์
2. ควรเปิดไฟที่จอก่อนที่สวิซไฟที่ CPU เพื่อ boot เครื่อง
3. ไม่ควรปิด ๆ เปิด ๆ เครื่องติด ๆ กัน เมื่อปิดเครื่องแล้วทิ้งระยะไว้เล็กน้อยก่อนเปิดใหม่
4. ควรปรับความสว่างของจอภาพให้เหมาะสมกับสภาพของห้องทำงาน เพราะถ้าสว่างมากเกินไปย่อมทำให้จอภาพอายุสั้นลง
5. อย่าเปิดฝาหลัง Monitor ซ่อมเอง เพราะจะเป็นอันตรายจากกระแสไฟฟ้าแรงสูง
6. เมื่อมีการเปิดจอภาพทิ้งไว้นาน ๆ ควรจะมีการเรียกโปรแกมถนอมจอภาพ (Screen Sever) ขึ้นมาทำงานเพื่อยืดอายุการใช้งานของจอภาพ                  
การดูแลรักษาเม้าส์ (Mouse)
                                เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ Input ที่ใช้สำหรับป้อนข้อมูลคำสั่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเมาส์ จะประกอบไปด้วยลูกกลิ้งและฟันเฟือง ซึ่งสามารถถอดออกมาและทำความสะอาด เนื่องจากลูกกลิ้งจะสะสมเอาสิ่งสกปรกต่าง ๆ ไว้ภายในเมาส์ ทำให้ลูกกลิ้งไม่สามารถที่จะเคลื่อนที่ไปได้โดยอิสระ
                                วิธีทำ ความสะอาดให้บิดช่องข้างล่างของเมาส์บริเวณที่เป็นลูกกลิ้ง พอถอดออกแล้วก็นำลูกกลิ้งข้างในออกมา และเราจะเห็นแกนอยู่ 2 แกนที่สามารถหมุนได้และแกนวงกลม ที่สามารถหมุนได้เช่นกัน ใช้เล็บหรือไขควงก็ได้แล้วแต่ถนัด ขูดพวกฝุ่นที่เกาะกันเป็นก้อนออกมา เท่านี้เมาส์ของคุณก็จะไหลรวดเร็วดังใจนึก
                                สำหรับ อุปกรณ์เม้าส์แสง หรือ Optical Mouse ภายในเม้าส์ประกอบด้วยเซ็นเซอร์แสง ซึ่งมักจะทำงานผิดปกติเมื่อมีฝุ่นผง สามารถทำความสะอาดโดยอุปกรณ์เป่าฝุ่น
การดูแลรักษาแป้นพิมพ์ (Keyboard)
                                ในการทำความสะอาด keyboard ในนำผ้าหมาด ๆ เช็ดให้ทั่วบริเวณแป้นพิมพ์ให้สะอาด (ห้ามใช้ผ้าชุบน้ำ) การดูแลรักษาก็ง่าย ๆ เอาผ้าคลุมไว้ แต่ keyboard ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องความสกปรกสักเท่าไรหรอก เพราะใช้อยู่ทุกวันจะมีก็แต่ขนมหล่นใส่ เป็นคราบดำ ๆ นิดหน่อย หากเสียก็เปลี่ยนใหม่
การดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
                ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เป็นหน่วยความจำสำรอง หรือสื่อบันทึกข้อมูลภายนอกที่มีความจุสูงโดยทั่วไปฮาร์ดดิสก์จะมีอายุการใช้งานอย่างต่ำ 3 ปี แต่อย่างไรก็ตาม ฮาร์ดดิสก์ก็อาจจะเสียได้ตลอดเวลา ดังนั้น เราควรสำรองข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เอาไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเวลาที่ฮาร์ดิสก์เสีย ข้อมูลก็จะยังไม่สูญหายไป ข้อควรระวังก็คือ ในเรื่องของไฟตกไฟชากซึ่งจะมีผลต่อ Harddisk อาจทำให้เกิดความเสียหายได้
                                ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่มีอายุยืนมากยากจะบำรุงรักษาด้วยตัวเอง ผู้ใช้ คอมพิวเตอร์จึงควรระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายซึ่งควรปฏิบัติดังต่อไป นี้
1. การติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ควรติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์โดยให้ด้านหลัง ของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ห่างจากฝาผนังไม่น้อยกว่า 3 นิ้ว เพื่อการระบายความร้อน เป็นอย่างปกติไม่ทำให้เครื่องร้อนได้
2. ควรเลือกใช้โต๊ะทำงานที่แข็งแรงป้องกันการโยกไปมาเพราะทำให้หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ถูกกระทบกระเทือนได้
3. ควรมีการตรวจสอบสถานภาพของ Hard Disk ด้วยโปรแกรมต่างๆว่ายังสามารถใช้งานได้ครบ 100 % หรือมีส่วนใดของ Hard Disk ที่ใช้งานไม่ได้
การดูแลรักษาพัดลมระบายความร้อน (Fan)
                                พัดลมระบายความร้อน เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญของคอมพิวเตอร์ เนื่องจากการทำงานของวงจรภายในคอมพิวเตอร์จะเกิดความร้อนจำนวนมาก ระบบระบายความร้อนหลักของคอมพิวเตอร์จะใช้พัดลมระบายความร้อนเป็นหลักการติดพัดลมระบายความร้อนควรติดให้พอเพียงและเหมาะสมต่อการระบายความร้อนจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งขนาด ความเร็วรอบ และจำนวนพัดลม เพื่อให้สามารถระบายความร้อนได้ดี ช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ การรักษาความสะอาดพัดลมโดยการปัดด้วยแปรง หรือที่เป่าฝุ่นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพัดลมระบายความร้อน
การทำความสะอาดข้อมูล
                การทำความสะอาค (ข้อมูล) เครื่อง ด้วย Disk Cleanup
                                คุณสามารถทำความสะอาด เพื่อเพิ่มพื้นที่การใช้งานในฮาร์ดดิสก์ได้ ทำให้ฮาร์ดดิสก์มีพื้นที่ว่างมากขึ้นจะส่งผลทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณมี ประสิทธิภาพดีกว่าเดิม โดยการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Disk Cleanup Tools ซึ่งยูทิลิตี้ตัวนี้จะค้นหาว่ามีไฟล์ใดที่คุณสามารถลบทิ้งได้อย่างปลอดภัย บ้าง จากนั้นก็จะช่วยให้คุณตัดสินใจว่าคุณจะลบไฟล์ที่ระบุเอาไว้บางส่วนหรือทั้ง หมดหรือไม่
Disk Cleanup มีความสามารถดังต่อไปนี้
                    กำจัดไฟล์ที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า temporary
                    กำจัดโปรแกรมที่ถูกดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ต
                    กำจัดไฟล์ที่ถูกลบแล้วยังอยู่ใน Recycle Bin
                    กำจัด Windows Temporary files
                    กำจัดตัวเลือกต่าง ๆ ที่วินโดวส์ไม่ได้ใช้งานออก
                    กำจัดโปรแกรมที่ถูกติดตั้งไว้ แต่ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน ๆ Internet files


วิธีการใช้ Disk Clean Up
                1. คลิก Start ชี้เมล์ไปที่ All Programs ตามด้วย Accessories จากนั้นไปที่ System Tools แล้วคลิกที่ Disk Cleanup
 
                                                                                                                                                                                                                                                              
ถ้าหากมีไดร์ฟหลายไดร์ฟ ระบบจะขอให้คุณระบุว่าต้องการทำความสะอาดไดร์ฟไหน
 
Disk Cleanup ทำการคำนวณพื้นที่ที่คุณสามารถทำความสะอาดได้
 

หลังจากนั้นอีกไม่กี่นาที ขั้นตอนจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ แล้วกรอบของ Disk Cleanup จะปิดไป
 
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือคอมพิวเตอร์ของคุณจะสะอาดมากขึ้นและมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น






การจัดเรียงข้อมูลด้วย Disk Defragmentor
                                 ข้อมูลที่กระจายกันอยู่ตามจุดต่าง ๆ ในฮาร์ดดิสก์จะทำให้พีซีของคุณมีประสิทธิภาพที่ลดลง ถ้าหากข้อมูลของไฟล์ถูกจัดเก็บเอาไว้ในที่ต่าง ๆ แล้วคุณต้องการเปิดไฟล์ คอมพิวเตอร์ต้องค้นหาตามจุดต่าง ๆ เพื่อนำเอาชิ้นส่วนของไฟล์มารวมกัน ซึ่งทำให้เวลาในการตอบสนองนานขึ้นกว่าเดิมมาก จึงได้มีการจัดเรียงข้อมูลในฮาร์ดิสก์เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ของคุณทำงานได้เร็วขึ้น
                ปกติการเรียกใช้ Disk Defragmenter อาจจะทำเป็นช่วงเวลา เช่น เดือนละครั้ง หรือสองสัปดาห์ครั้ง แต่ยังมีข้อพิจารณาอีก 3 ข้อ ว่าถ้าสภาพแวดล้อมของเครื่องคอมพิวเตอร์คุณเป็นดังต่อไปนี้ ให้คุณทำ Disk Defragmenter ด้วย คือ
      - มีการเพิ่มไฟล์เข้าไปในฮาร์ดดิสก์เป็นจำนวนมาก
      - พื้นที่ของดิสก์คุณ เหลือไม่ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมด
      - คุณมีการติดตั้งโปรแกรมใหม่ หรือติดตั้งวินโดวส์เวอร์ชันใหม่


วิธีการใช้ Disk Defragmenter
                1. คลิก Start ชี้เมาส์ไปที่ All Programs ตามด้วย Accessories แล้วชี้ไปยัง System Tools จากนั้นคลิกที่ Disk Defragmenter คลิกที่ Analyze เพื่อเริ่มต้นการจัดระเบียบข้อมูลในฮาร์ดดิสก์
 

2. ในกรอบถามตอบของ Disk Defragmenter คลิกที่ไดร์ฟที่คุณต้องการจัดระเบียบข้อมูล จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Analyze
 

                                                                                                                                                                 
หลังจากทำการวิเคราะห์ฮาร์ดดิสก์เสร็จแล้ว จะมีกรอบข้อความปรากฏขึ้นมาเพื่อบอกให้คุณทราบว่า คุณควรจัดระเบียบข้อมูลในไดร์ฟที่ทำการวิเคราะห์หรือไม่
3. ถ้าหากต้องการจัดระเบียบข้อมูลในไดร์ฟที่เลือกเอาไว้ตั้งแต่หนึ่งไดร์ฟขึ้น ไป ให้คลิกที่ปุ่ม Defragment หลังจากขั้นตอนการจัดระเบียบข้อมูลเสร็จแล้ว Disk Defragmenter จะแสดงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นให้ทราบ

 
4. กดคลิกที่ close เพื่อจบการทำงาน
 

                        การดูแลรักษาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ นั้น จะทำให้อุปกรณ์มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น และ ข้อมูลสารสนเทศต่างๆจะไม่ชำรุดหรือสูญหายไปอีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของอุปกรณ์ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น